top of page

มารู้จัก “Bitcoin” และสกุลเงินดิจิตอล

สวัสดีค่ะ เพื่อนๆ วันนี้อันชัญอยากจะมาเม้ามอยพูดคุย เกี่ยวกับเรื่องของเงินสกุลดิจิทัล ที่ตอนนี้บ้านเราก็ซึ่งมีผู้สนใจเป็นจำนวนมาก ว่าเงินสกุลดิจิทัลคืออะไร มีเงินสกุลดิจิทัลอะไรบ้าง เงินเหล่านี้น่าเชื่อถือหรือไม่ โลกมีการกำกับดูแลเงินสกุลดิจิทัลหรือไม่อย่างไร และประเทศไทยมีทิศทางอย่างไรต่อเรื่องเงินสกุลดิจิทัล โอ้ยเยอะแยะมากมายหลายคำถาม วันนี้เราจึงมาทำความรู้จักกับเงินสกุลดิจิทัลกัน ในยุคดิจิทัลที่มีการเปลี่ยนแปลงต่างๆ เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว บิทคอยน์ถือเป็นหนึ่งในกระแสที่มีการพูดถึงเป็นอย่างมากขณะนี้ ในยุคดิจิทัลนี้เรามาทำความรู้จักกับบิทคอยน์และเงินสกุลดิจิทัลมีอะไรบ้าง




Bitcoin คืออะไร

Bitcoin (อ่านว่าบิทคอยน์) คือสกุลเงินในรูปแบบของดิจิทัล หรือชื่อย่อคือ BTC Bitcoin ถูกสร้างขึ้นมาด้วยภาษาคอมพิวเตอร์ ไม่มีใครเป็นเจ้าของ Bitcoin ไม่มีรูปร่างและไม่สามารถจับต้องได้เหมือนธนบัตรหรือเหรียญเงินบาท Bitcoin ถูกสร้างขึ้นมาด้วยกลุ่มนักพัฒนาเล็กๆกลุ่มหนึ่งตลอดจนบริษัทใหญ่ๆทั่วโลก โดยระบบของ Bitcoin ถูกรันโดยคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้งานทั่วโลก โดยใช้ระบบซอฟต์แวร์ในการถอดสมการคณิตศาสตร์


อะไรทำให้ Bitcoin แตกต่างจากสกุลเงินทั่วๆไป

Bitcoin สามารถใช้แทนเงินสดซื้อสินค้าออนไลน์ อาจคล้ายกับระบบซื้อขายผ่านอินเทอร์เนตทั่วๆไปที่ใช้บัตรเดบิตหรือบัตรเครดิต อย่างไรก็ตาม ความพิเศษของ Bitcoin ที่เป็นตัวช่วยให้มันเป็นที่นิยมคือมันถูกควบคุมแบบกระจาย (decentralize) กล่าวคือไม่มีสถาบันการเงินไหนสามารถควบคุมบิมคอยได้ ซึ่งนั่นทำให้ผู้คนที่เลือกใช้ Bitcoin ส่วนใหญ่สบายใจเนื่องจากแม้แต่ธนาคารก็ไม่สามารถควบคุม Bitcoin ได้

ใครเป็นคนสร้าง Bitcoin

นักพัฒนาด้านซอฟต์แวร์ผู้ใช้นามแฝงว่า ซาโตชิ นาคาโมโตะ เป็นผู้พัฒนา Bitcoin ขึ้นมาซึ่งเป็นระบบจ่ายเงินที่อ้างอิงอยู่บนการถอดสมการคณิตศาสตร์ โดยจุดประสงค์ของเขาคือการสร้างสกุลเงินที่เป็นอิสระจากรัฐบาลและธนาคาร, สามารถส่งหากันผ่านระบบอินเทอร์เนตและมีค่าธรรมเนียมที่ถูกมากๆ

ใครพิมพ์ Bitcoin

ไม่มีใครสามารถพิมพ์ Bitcoin ได้ เพราะมันเป็นสกุลเงินที่ไม่สามารถจับต้องได้เหมือนกับธนบัตรที่ถูกพิมพ์โดยรัฐบาล, ไม่ได้ถูกสร้างขึ้นมาให้สอดคล้องกับจำนวนประชากร และมันมีกฏเกณฑ์ในตัวของมันเอง ในขณะที่ธนาคารกลางบางประเทศสามารถที่จะพิมพ์เงินได้เองเพื่อกู้วิกฤติหนี้แห่งชาติ หรือประกาศอ่อนค่าเงินของตัวเอง

แต่ Bitcoin ถูกสร้างขึ้นโดยเป็นเหมือนกับไฟล์คอมพิวเตอร์ โดยกลุ่มนักพัฒนาอิสระที่ใครๆก็สามารถเข้าไปมีส่วนร่วมได้ การจะผลิต Bitcoin ขึ้นมาได้นั้นต้องใช้วิธีการ “ขุด” โดยการใช้คอมพิวเตอร์ที่ตั้งอยู่บนเครือข่ายที่จัดวางไว้ให้เท่านั้น

โดยเครือข่ายนี้ยังสามารถที่จะใช้เพื่อช่วยในการจัดการการโอนส่ง Bitcoin ให้กันได้ ซึ่งหากจะเรียกแล้ว มันก็คือเครือข่ายส่วนตัวของ Bitcoin นั่นเอง


เงินสกุลดิจิทัลมีอะไรบ้าง

ในช่วงเริ่มต้น คนส่วนใหญ่ใช้คำว่าบิตคอยน์กับคำว่าเงินสกุลดิจิทัลเสมือนเป็นคำเดียวกัน แต่ในช่วง 6-7 ปีที่ผ่านมาก็มีการสร้างเงินสกุลดิจิทัลด้วยอัลกอริทึ่มอื่นขึ้นมาอีกมากมาย โดยหากเรียงตามมูลค่าตามราคาตลาด (Market Cap คำนวณจากจำนวนเหรียญคูณด้วยอัตราซื้อขาย) เงินสกุลดิจิทัล 5 อันดับแรกของวันนี้มีตัวอย่างได้แก่ Bitcoin, Ethereum, Ripple, Bitcoin Cash, และ Litecoin แต่ในความเป็นจริงแล้วเงินสกุลดิจิทัลที่มีการสร้างขึ้นมานั้นมีสูงถึงกว่า 1,500 สกุล ซึ่งแต่ละสกุลเงินที่ถูกสร้างขึ้นมีระดับความนิยมและความน่าเชื่อถือแตกต่างกันไป



“บิทคอยน์” ถือเป็นทรัพย์สินที่ไม่มีตัวตน เพราะสร้างขึ้นบนเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ ใช้เทคโนโลยี Blockchain เป็นสื่อกลางในการทำธุรกรรม ทำให้ “บิทคอยน์” ไม่ได้รับการรับรองให้เป็นสกุลเงินที่ถูกกฎหมายจากธนาคารกลางประเทศต่างๆทั่วโลก เพราะมองว่าไม่มี “มูลค่าที่แท้จริง” ในการชำระเงินซึ่งแตกต่างจากเงินสดหรือทองคำจึงมีความเสี่ยงสูงควรเข้าใจและศึกษาวิธีการก่อนลงทุน

การประเมินความเสี่ยงไม่ว่าจะเป็นทางการหรือลงทุนหรือว่าจะป่วยจากไข้ไวรัส COVID-19 ก็จำเป็นต้องมีการตรวจหาเชื้อในร่างกาย ถึงแม้ว่าจะไม่มีประวัติการเดินทางไปในพื้นที่เสี่ยงมาก่อน แต่อย่าลืมนะค่ะว่าไม่ได้มีแต่ไวรัส COVID-19 ที่จะทำให้เจ็บป่วยได้ในระยะนี้ เชื้อโรคตัวอื่น ๆ ก็ยังคงอยู่เหมือนเดิมนะคะ

ช่วงนี้หากใครกำลังมองหาประกันโควิด ที่สามารถช่วยคุณให้คุณใจ ทั้งแพคเกจช่วยค่ารักษาพยาบาลหรือเลือกรับเป็นเงินชดเชยรายได้ขณะนอนรักษาตัว อย่าลืมมองหาประกันของทิพยประกันภัยนะคะ สมัครง่ายผ่านช่องทางออนไลน์ https://www.tipinsure.com/Ph/step_2 หรือสอบถามมาทาง Purpleins เราได้เลยนะคะ น้องอัญชันยินดีให้บริการค่ะ

และทุกท่านอย่าลืมดูแลตัวเองกันด้วยนะคะ ด้วยรักและเป็นห่วงค่ะ


ที่มา: https://www.depa.or.th/th/article-view/article-getting-know-cryptocurrency


30 views0 comments
bottom of page