Updated: Oct 12, 2020

เชื่อว่าเพื่อนๆ มือใหม่หัดขับหลายคนต้องเคยสงสัยในความแตกต่างระหว่าง พ.ร.บ รถยนต์
กับ ประกันรถยนต์ อย่างแน่นอน แล้วสรุปว่า เราต้องทำทั้งสองอย่างเลยหรือไม่?
วันนี้ Purple INS จะมาไขข้อสงสัยนี้ให้เพื่อนๆกันค่ะ

พ.ร.บ. รถยนต์ คืออะไร?
พ.ร.บ. รถยนต์ ย่อมาจาก “ พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถยนต์ ”
เป็นประกันรถยนต์ภาคบังคับทางกฎหมายที่กำหนดให้ยานพาหนะทุกคัน ทุกประเภทต้องมี
เพื่อเป็นหลักประกันให้กับผู้ขับขี่ว่า เป็นผู้ขับขี่รถยนต์ที่ถูกต้องตามกฎหมายและสามารถรับสิทธิคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลยามเกิดอุบัติเหตุได้ ซึ่งจะช่วยแบ่งเบาภาระค่ารักษาตัวของเจ้าของรถได้ หากไม่มี พ.ร.บ. ก็จะถือว่าทำผิดกฎหมายมีโทษปรับเป็นจำนวนเงินไม่เกิน 10,000 บาท อีกทั้งยังไม่เป็นผลดีต่อผู้ขับขี่ยามประสบอุบัติเหตุด้วยนะคะ

ประกันรถยนต์ คืออะไร?
ประกันรถยนต์ คือ ประกันรถภาคสมัครใจที่ผู้ขับขี่สามารถเลือกทำ หรือไม่ทำก็ได้
โดยวงเงินรับผิดชอบค่าเสียหายและขอบเขตความคุ้มครองเมื่อประสบอุบัติเหตุต่างๆ นั้น
ขึ้นอยู่กับแผนประกันแต่ละประเภท ทุนประกัน และเงื่อนไขของบริษัทประกันภัยแต่ละที่เราเลือกทำ ซึ่งเพื่อนๆ สามารถอ่านรายละเอียด
ความคุ้มครองของประกันรถยนต์แต่ละประเภทได้ในบทความนี้ http://1th.xyz/Pjcu
ความแตกต่างระหว่าง พ.ร.บ. รถยนต์ กับ ประกันรถยนต์
ความต่างของทั้งสองคือ การมอบความคุ้มครอง โดย พ.ร.บ. จะให้ความคุ้มครอง เฉพาะตัวผู้ขับขี่
ในขณะที่ประกันรถยนต์นั้นมอบคุ้มครองให้ทั้ง ผู้ขับขี่ และ ตัวรถยนต์
หากถามว่า ทำเพียง พ.ร.บ. อย่างเดียวพอหรือไม่? ก็ขอตอบว่าอาจจะไม่พอในด้านของ
ความครอบคลุมค่าเสียหาย เพราะถ้ามีเพียง พ.ร.บ. แต่ไม่ได้ทำประกันรถยนต์ภาคสมัครใจไว้
เมื่อประสบอุบัติเหตุแล้วตัวรถพังเกิดความเสียหาย เพื่อนๆ จะต้องจ่ายค่าซ่อมแซ่มรถเองทั้งหมด
ซึ่งปัจจุบันค่าอะไหล่ต่างๆ ก็ราคาสูงไม่แพ้ค่ารักษาพยาบาลเลยค่ะ
ดังนั้นเพื่อความอุ่นใจ Purple INS จึงอ